header-salt

 

 

อาหารเค็ม (โซเดียม)  ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโซเดียม

โซเดียมเป็นส่วนประกอบของเกลือถึง ร้อยละ ๔0 ร่างกายแต่ละคนมีความไวต่อ โซเดียม ไม่เท่ากัน หมายความว่าถ้าคนที่มีความไวต่อโซเดียมแล้วไปกินเค็มหรือโซเดียมมาก อาจทําให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ ดังนั้น ร่างกายควรได้รับโซเดียมอย่างน้อยวันละ ๕00 มิลลิกรัม สูงสุดไม่เกิน วันละ 2,000 มิลลิกรัม แต่ถ้าสามารถลดปริมาณโซเดียมได้ถึงวันละ 1,๘๐๐ มิลลิกรัม จะมีผลดีต่อสุขภาพมากกว่า (โซเดียม 2,00 มิลลิกรัม = เกลือ ๕ กรัม หรือประมาณ ๑ ช้อนชา)

ความเข้าใจที่ถูกต้อง คือ การลดโซเดียมไม่ใช่เพียงแค่เป็นการลดเกลือเท่านั้น เพราะ อาหารหลายชนิดมีโซเดียมแฝงอยู่ เช่น ซอสต่างๆ น้ําปลา ซีอิ้ว ไข่เค็ม กุ้งแห้ง อาหารผ่านกระบวนการแปรรูป เช่น เบคอน ไส้กรอก แหนม รวมทั้งของหมักดองทุกชนิด อาหารกระป๋อง นอกจากนี้โซเดียมยังแอบแฝงในอาหารรูปอื่น แต่ไม่มีรสชาติเค็ม เช่น ผงชูรส ผงฟู แม้กระทั่งสารกันบูดก็มีโซเดียมเป็นส่วนผสมเช่นกัน

ประเทศไทยในปัจจุบันพบว่าคนไทยมีพฤติกรรมการบริโภคโซเดียมเกินความจําเป็น โดยเฉลี่ยประมาณ ๒ เท่า จากปริมาณที่ร่างกายต้องการ คือ ประมาณ ๑๐.๘ กรัมต่อวัน คนไทยต้องเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดปีละเกือบ ๔๐,๐๐๐ คน หรือวันละ ๑๐๘ คน ป่วยเป็นโรคไต ๗,๖๐๐,๐๐๐ คน โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ๕๐๐,๐๐๐ คน คนที่กินเค็มจัดเป็นประจํามีโอกาสเป็น โรคหัวใจและหลอดเลือดสูง รวมทั้งทําให้หลอดเลือดสมองตีบหรือแตกมากกว่าคนที่กินเค็มอย่างเหมาะสม เพราะความเค็มทําให้ความดันโลหิตสูง หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจนําไปสู่ภาวะหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย และทําให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทําให้ผนังกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหนาขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต นอกจากนี้ยังทําให้ไตต้องทํางานมากขึ้น และเสื่อมเร็วขึ้นผลที่ตามมา คือ ทําให้เป็นโรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งเป็นโรคที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก

 

โรคที่มากับการบริโภคโชเดียมมากเกิน

  • ระบบขับถ่ายทางปัสสาวะ ไตเสื่อม ไตวาย
  • ระบบกระดูกและข้อ โรคกระดูกพรุน
  • ระบบทางเดินอาหาร โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทําให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ และทําให้เป็นโรคหอบหืด

 

image48

UPdate ; 18-1-60