3. ยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน
ยุทธศาสตร์การดำเนินงานให้ความสำคัญกับความร่วมมือของภาคีทุกภาคส่วนในการใช้สัญลักษณ์โภชนาการอย่างง่ายเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารกับประชาชนผู้บริโภคทั่วไปให้เกิดความตระหนักถึงการบริโภคอาหารที่เอื้อต่อสุขภาพมากขึ้น โดยมุ่งหวังให้สัญลักษณ์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือให้ผู้บริโภคใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อและบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีกว่าและเหมาะสมต่อสุขภาพได้อย่างรวดเร็ว ผ่านการให้ข้อมูลบนฉลากอาหาร อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงการปรับสูตรอาหารลดหวาน มัน เค็ม โดยมีกรอบแนวคิดและการผลักดันการขับเคลื่อนสัญลักษณ์โภชนาการอย่างง่ายสู่การปฏิบัติ ดังภาพที่ 5
การดำเนินการภายใต้คณะอนุกรรมการพัฒนาและส่งเสริมการใช้สัญลักษณ์โภชนาการอย่างง่ายซึ่งได้รับการแต่งตั้งภายใต้คณะกรรมการเฉพาะเรื่องชุดที่ 3 ของคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ (รายละเอียดคณะอนุกรรมการแสดงในภาคผนวกที่ 1)
โดยการดำเนินการภายใต้ 3 ส่วนหลัก คือ
Scientific Committee โดยสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก โดยได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานวิชาการพิจารณาหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการแสดงสัญลักษณ์โภชนาการอย่างง่ายขึ้น โดยมีบทบาทหน้าที่ในการกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ สำหรับแสดงสัญลักษณ์โภชนาการอย่างง่าย
- องค์กรขับเคลื่อน โดยสำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก
- Public Awareness เป็นการดำเนินงานร่วมกันทั้งสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลสำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา รวมทั้งแหล่งทุนคือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ